14 วิธี เพิ่มเงินในกระเป๋า ด้วยการอุดรูรายจ่ายที่ไหล่ออก
มีเงินเก็บเพิ่มเติมด้วยทรัพย์สิน
ใครๆ ก็อย า กมีเงินเหลือ แต่พอถึงขั้นลงมือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
บางครั้งรู้ตัวอีกทีก็เผลอใช้เงินจนเหลือเงินเก็บนิดเดียวเพื่อสร้างความมั่นคง
ให้กับชีวิตมีเทคนิคอะไรที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง 14 วิธีเก็บเงินดีๆ
ที่คุณควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้
1 : ตั้งต้นด้วยเงินออม
หลายคนคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย
รายได้ – รายจ่าย = เงินออม ซึ่งถูกต้อง แต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้น
ที่ดีสำหรับคนที่อย า กเก็บเงินให้ได้อย่างมีวินัย
เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก
“จัดหมวดหมู่” เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ
เราควรหัก เงินออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายตามงบ
ประมาณที่มีนั้นเอง
2 : งบประมาณควรแบ่งประเภทและลำดับความสำคัญ
จากข้อที่แล้วจะช่วยให้เราเห็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหลัง
หักเงินออมที่คาดหวัง ทั้งนี้เมื่อลงมือจริง หลายครั้งก็จ่าย
ไม่ได้จริงตามที่ตั้งใจเพราะมักจะจ่ายให้กับ
‘สิ่งที่ไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน’ เช่น จ่ายให้กับค่าอาหารที่อย า ก
ทานในแต่ละวันก่อน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาใน
ช่วงปลายเดือนเช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น
3 : จดบันทึกให้เป็นนิสัย
จากผลสำรวจของบริษัท Y o u G o v ในปี 2558 ผลการสำรวจ
นี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่าย
ทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่
ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุ
ไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท ซึ่ง
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่ อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมา
จากค่าอาหารสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อ
สินค้าฟุ่มเฟือยค่าใช้จ่ายรั่ วไหลกับอะไรไม่รู้…ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วย
การจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัยปัจจุบันมีแอปพลิเคชันรายรับ
รายจ่ายมากมายทั้ง iOS และ Android ให้คุณได้เลือกลองใช้
4 : ค่าอาหาร รายจ่ายประจำที่ลดได้
จากข้อมูลในข้อที่แล้วซึ่งพบว่าค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่าย
ก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิธีหนึ่งที่จะลดรูราย
จ่ายก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้นสำหรับการลด
รายจ่ายค่าอาหารมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น ทำอาหารทานเอง
การทำอาหารทานเองประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าซื้อทาน
โดยเฉพาะถ้าเป็นครอบครัวหลายคน ราคาต่อหัวก็จะประหยัดมากขึ้น
5 : ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงินเข้ากระเป๋า รวมไปถึงเสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่
หลายคนมีเสื้อผ้าเยอะมาก แต่ใส่ไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด
แนะนำว่าให้ตัดใจแล้วนำไปขายต่อ
6 : อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก
อีกจุดสำคัญที่ช่วยอุดรอยรั่วจากรายจ่ายในการซื้อเสื้อผ้าก็คือการเลือก
เสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดีเพราะเมื่อคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี
หรือการตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้ อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจาก
ซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง
7 : อย่าบ้ าสะสม
ของสะสมเป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ แต่อย่างไรก็ตามใครที่
เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่รั่วไหล ถ้าคุณไม่หยุด
ตัวเองเลย เมื่อมองย้อนกลับมาอีกทีอาจพบว่ามีของสะสมอยู่เต็ม
บ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า
8 : เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดีๆ
เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินทั่วไป แบบการ
เลือกหักบัญชีแบบอัตโนมัติบัญชีก็สามารถสร้างวินัยการออมได้
เหมือนกันจะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือยัง ซึ่งวิธีนี้
ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้
ที่บทความการออมและการลงทุนแบบประจำ
9 : อย่ามีเฉพาะออมทรัพย์
ลองฝากประจำ หรือลงทุนแบบหักอัตโนมัติบัญชีเพื่อสร้างวินัย
การออมจะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือฝากเงินเข้า
ธนาคารแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่
วางไว้ด้วย
10 : ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้
อย่างฟิตเนสที่สมัครไว้เพราะอยากหุ่นดี อย่าลืมว่าคุณสามารถ
ต่ออายุการเป็นสมาชิกในภายหลังได้
ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็ยกเลิกไปก่อนก็ได้
11 : ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ร้านค้าหลายร้านมักมีสิทธิพิเศษให้เมื่อเราไปช้อปปิ้ง ก็ขออย่าละเลย
สิทธิพวกนี้เพราะบางทีคุณอาจได้รับเช็ คของขวัญ บัตรกำนัลดีๆ
ที่ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกเยอะเลย
12 : ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ
เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย และควรตระหนัก
ถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้
13 : หยุดใช้บัตรเครดิต ‘จ่ายล่วงหน้าโดยที่ยังไม่มีความจำเป็น’
เพราะความสะดวกของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบประมาณ
ที่ตั้งไว้จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าหมายเทคนิคง่ายๆ ในการยับยั้งชั่งใจ
เขียนข้อความเตือนตัวเองบนกระดาษเล็กๆ แปะบนบัตรเครดิต
เอาไว้เลย เป็นข้อความเตือนใจให้คิดก่อนซื้อ
14 : สนุกกับความบันเทิงง่ายๆ
การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอกจะทำให้
พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวนมากกว่าที่ตั้งใจ
เอาไว้ ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุขและความบันเทิงง่ายๆ ได้ที่บ้าน
อย่างฟังเพลงดูโทรทัศน์อ่านหนังสือ
เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง
ยควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาท
หรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะทำให้ไม่
รู้สึกหนักเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน
และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุดอย่าเพียงแค่ทำงาน
ไปทุกๆ เดือน ทางที่ดี
ให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต
สิ่งที่สำคัญคือการ “ไม่เครียด” เพราะเวลาที่เครียดจะทำให้คุณ
ใช้เงินเยอะขึ้นแบบไม่รู้ตัวเพื่อซื้อความสุขแบบ ชั่ ว คราวลองทำแบบ
ค่อยเป็นค่อยไป แล้วคุณจะพบว่าตัวเองมีเงินเหลือเยอะขึ้นอย่างแน่นอน