เรื่องจริงสังคมไทย เมื่อพ่อแม่สร้างหนี้เพื่อการศึกษาลูก - วันดีดี

เรื่องจริงสังคมไทย เมื่อพ่อแม่สร้างหนี้เพื่อการศึกษาลูก

พ่อแม่ส่วนใหญ่ สร้างหนี้เพื่อส่งลูกเรียนสูง..

พอลูกเรียนจบ สร้างหนี้ให้ลูก

คำว่าหนี้ เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะมันหมายถึงสิ่งที่เราอย ากได้

แต่ยังไม่พร้อมเรื่องเงิน แต่อยากทำตัวให้เท่าเทียมคนอื่น

พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงกู้เงินมา เพื่องส่งลูกเรียน สร้างหนี้ให้ลูก

พอลูกเรียนจบ ได้ทำงานก็ต้อง ส่งเงินให้ทางบ้าน

มีกระทู้แบบนี้เพียบเลยในเว็บไซต์ P a n t i p รวมถึงเพจ

หรือกลุ่มเกี่ยวกับการเงินใน F ac e bo k

อ่านไปเรื่อยๆ แล้วนึกสะท้อนใจขึ้นมาว่า “เฮ้ย เป็นปัญหาวง

กว้างนะเรื่องนี้”

จัดการผิดวิธี ชีวิตพังได้เลยนะ ลูกต้องมารับภาระ เพราะความกตัญญู

แต่จะมีคำถามเสมอว่า “เรียนจบ ทำงานแล้ว ส่งเงินให้พ่อแม่

เดือนเท่าไหร่ดี” “ช่วงโ ค วิ ด – 1 9 ส่งเงินให้ที่บ้านเท่าไหร่ ครับ”

“เงินเดือนน้อย ยังไม่ส่งเงินให้ที่บ้าน ถือว่าอกตัญญูไหม”

“ไม่ได้ส่งเงินให้พ่อแม่ ผิดมากไหม”

ที่จริงผมก็มีปัญหานี้เสมอมา ตั้งแต่เริ่มทำงานถึงปัจจุบัน

แต่ผมไม่เคยคิดว่ามันเป็นปัญหา เพราะมีความเชื่อว่า “กตัญญู”

เป็นสิ่งที่ต้องทำ แม้กระทั่งวันที่ผมข า ดสภาพคล่องสุดขีด

“ส่งเงินให้ที่บ้าน” จะเป็นปัญหาสุดท้ายของผม ไม่มีก็กู้เอา

หยิบยืม หาให้ได้สักทางยังไง “ที่บ้าน” ต้องได้เงินประจำเดือน

อย่างที่บอกว่าผมทำงาน หลายอย่างมาก

ซึ่งหากไม่มีภาระ “ที่บ้าน” ผมสามารถทิ้งทุกงาน

แล้วเลือกทำสิ่งที่ชอบที่สุดทุ่มกับมันให้เต็มที่ไปเลย

แต่ความเป็นจริง มันทำไม่ได้ เพราะ 35% จากรายได้ทั้งหมด

ของผม ต้องส่งไปให้ “ที่บ้าน” ทุกเดือน ดังนั้นหากเลิกงานใดงานหนึ่ง

ระบบพังแน่พอมาศึกษาเรื่องนี้จริงจัง (อ่านกระทู้แล้วอิน)

ผมไปตามอ่านดู ความเห็นของบรรดากูรู วางแผนการเงินทั้งหลาย

เฮ้ย บางที ผมอาจจะใช้ชีวิตบนความเชื่อแบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า

เพราะในทางการเงินความกตัญญู ต้องอยู่ในระดับที่พอดี

ผู้ให้ต้องไม่เหนื่อยเกินไป ทั้งกายและใจ

ผู้ให้ต้องมีสภาพคล่อง ทางการเงินที่ดี โอเค บ้านเราอาจจะเป็น

“สังคมอุปถัมภ์ค้ำจุน” ลูกต้องเลี้ยงพ่อแม่ หรือผู้มีอุปการะคุณ

ที่เลี้ยงเรามาก็ถูกนะ ไม่เถียงเลยแต่ต้องไม่เกินกำลัง

ไม่ใช่แต่ละเดือนต้องใช้หนี้ นอกระบบให้พ่อ จ่ายค่าแช ร์ ให้แม่

หรือให้ย า ยไว้ ใช้ทำบุญเพราะนั่นมันคือ กิเลส

ของเขาเหล่านั้น ทั้งสิ้น แต่ตั้งอยู่บนบ่าเรา

อย่าให้เงินจากความต้องการของ “ที่บ้าน” จงให้แต่ความจำเป็น

แต่พอดีเท่านั้น (ถ้ามีกำลัง) เช่น ค่าอาหาร ค่ารักษาพย าบาล

หรืออาจให้ค่าใช้จ่ายส่วนตัวประมาณหนึ่ง เป็นต้น

นี่คือสิ่งที่ผมสรุปมาได้ จากนักวางแผนการเงินทั้ง หลายคิดไปคิดมา

ก็จริงนะ อีกแนวคิดที่ทำให้ผมถึงบางอ้อ คือ ความย า กจนถ่ายทอด

ผ่านพันธุกรรมโดยพฤติกรรมได้ คือ พ่อแม่ ย ากจน เลี้ยงลูกเพื่อหวังพึ่งพิง

ระหว่างทางก็สร้างหนี้สินพะรุงพะรัง คิดเพียงวันหนึ่งลูกโตทำงานหาเงินได้

จะช่วยจัดการตรงนี้ คิดดูว่า ชีวิตเพิ่งจะเริ่มต้นตั้งตัว ก็เจอภาระก้อนโตแล้ว

หากวันหนึ่งลูกมีครอบครัวมีลูกเอง ภาระก็จะเพิ่มเข้าไปอีก ต้องทำงานหนักแค่ไหน

ถึงจะเพียงพอช่วยเหลือ ตั้งหลายขา สุดท้ายข าดสภาพคล่องก็ต้องสร้างหนี้

วนลูปวงจรภาระสิครับ ท่าน สิ่งที่ควรทำคือ “สร้างกรอบความคิดใหม่”

เพื่อให้ความจนนี้ “มันจบที่รุ่นเรา” หึ หึ ผมจะเริ่มจากตัวผมนี่แหล่ะ

โอเคผมคงไม่ไปลดรายเดือนของ “ที่บ้าน” เพราะเขาได้รับแบบนี้มา

นานหลายปีแล้วแต่ผมจะตัดรายการพิเศษที่ไม่จำเป็น ซึ่งชอบโผล่มา

ระหว่างเดือนเสมอเช่น “วัดข้างบ้านที่ทำบุญใหญ่” หรือ

“หลานอย ากได้ชุดใหม่ไปโรงเรียน” “อย ากตัดหญ้าบริเวณบ้าน

จังเริ่มย าวขึ้นละ” หรือ “น้าตกงานมาอยู่ด้วยช่วงนี้เพิ่มเงินให้หน่อย”

เป็นต้น เพราะสิ่งที่ให้ไปแต่ละเดือน เพียงพอเหลือๆ กับการเลี้ยงชีพของ

“ที่บ้าน” แน่ๆ ครับที่เหลือควรบริหารจัดการเอง เพราะด้วยวัยวุฒิ

ก็ควรจะเข้าใจอย ากเอาหลานมาเป็นภาระ ก็ดูแลเองให้ได้

ไม่งั้นก็ไปขอเงินจากพ่อแม่ เขาโน้น ไม่ใช่ผม

ญาติคนอื่น อยู่ในวัยทำงาน ตกงาน ก็หางานทำ ไม่ใช่มานั่งรอความช่วยเหลือ

แต่พูดคุยดีๆ นะครับ พูดให้เข้าใจ หวังว่าจะเข้าใจนะ สำหรับท่าน

ที่ข าดสภาพคล่องช่วงนี้อย่าสร้างหนี้ เพื่อส่งเงินให้ “ที่บ้าน” นะครับ

ควรเจรจากับ “ที่บ้าน” เล่าให้เขาฟังให้เข้าใจ

คุณป้าข้างบ้านจะมากระแนะกระแหนว่า “อกตัญญู” ก็ช่างมัน

ต้องเอาตัวเอง ให้รอดก่อน เพราะสำคัญสุด

อาจจะดูเห็นแก่ตัว แต่ในทางวางแผนการเงินที่ดี “ไม่ควรสร้างหนี้

เพื่อให้คนอื่นสบายแต่ตัวเองเดือดร้อน” คำว่า “กตัญญู”

ไม่จำเป็นต้องแลกด้วยเงินเสมอไป อย่าให้ “ที่บ้าน” เ ส พ ติ ด

ภาวะพึ่งพิงหากยังมีกำลังก็ลองช่วยกันหารายได้ เพื่อดูแลตัวเองกันไป

เราไม่มีเงินช่วย ก็ยื่นมือช่วยโดยให้คำปรึกษา แสดงความเป็นห่วงเป็นใย

เป็นวิธีการแสดงความ “กตัญญู” อีกทางหนึ่ง

อย่ามีชุดความเชื่อผิดๆ ที่ว่า “กตัญญู” คือการให้เงินเท่านั้น

สุดท้ายที่อย ากจะบอกก็คือ ตัวเราเองก็ควรวางแผนเก็บออมเพื่อ

การเกษียณใครยังไม่เริ่ม เริ่มเลยตอนนี้ เพื่อที่จะไม่ได้เป็นภาระ

ลูกหลาน ในอนาคตให้รูปของวงจรภาระหนี้จาก

“ที่บ้าน” มัน “จบที่รุ่นเรา” เถอะ

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *